Saturday, November 1, 2008

การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

1. ความเป็นมาและสภาพของปัญหา
เนื่องจากโลกยุคปัจจุบันชีวิตของคนเราต้องเกี่ยวข้องตัวเลข การคิดคำนวณ
และค่าทางสถิตอยู่ตลอดเวลา มีการนำตัวเลขมาจัดเป็นสถิติต่างๆ หาแนวโน้มของอุบัติการณ์ต่างๆ มีการเสี่ยงหาความเป็นไปได้ท่ามกลางปัญหาเศษฐกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่หลักสูตรการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับจำนวนตัวเลข ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น มีทักษะในการคิดคำนวณเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และความอยู่รอดในการครองชีพ โลกในยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่แต่ละประเทศต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายจากกระแสโลก สังคมจะพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ เกิดกระแสและค่านิยมใหม่ๆ ที่หลากหลาย การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เช่นนี้ ประเทศไทยต้องดำรงสถานะที่มีความได้เปรียบและความสามารถในการแข่งขัน โดยปัจจัยสำคัญที่จะสามารถเผชิญการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายดังกล่าวได้ คือ คุณภาพของคน โดยใช้ “การศึกษา” เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพซึ่งหากคนมีคุณภาพแล้วย่อมส่งผลให้สังคมและประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง การศึกษา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ มีศักยภาพเต็มสมบูรณ์ตามอัตภาพของแต่ละบุคคล
ในปีการศึกษา ……. ภาคเรียนที่ … จากการทดสอบความรู้พื้นฐานโดยใช้ข้อสอบที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน…… สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา….. มีนักเรียนจำนวน …… คน มีนักเรียนที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ถึงร้อยละ ….. ซึ่งเป็นผลที่ไม่น่าพอใจ
นักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก ซึ่งผลที
ตามมาก็คือนักเรียนที่จบหลักสูตรประถมศึกษามีความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ไม่เหมาะสมกับระดับชั้น ผู้เรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นซึ่งเป็นการล้มเหลวในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพราะวิชาคณิตศาสตร์ถือว่าเป็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของคนเรา
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีพยายามมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะวิเคราะห์ข้อมูลหาความน่าจะเป็น เพื่อปูพื้นฐานคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์ ให้กับผู้เรียน แก้ปัญหาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้นักเรียนทั้ง …. คน เปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เรียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เน้นให้เห็นความสำคัญของวิชานี้ และเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์ คิดคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์ให้กับผู้เรียนเพื่อใช้เป็นหนึ่งในยุทศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.1. วัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหา
การเรียนคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนทั้ง ….. คน และที่ได้คะแนนจากการทดสอบความรู้พื้นฐานไม่ถึงเกณฑ์ซึ่งได้เพียงร้อยละ …….
2. เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์ข้อมูลหาแนวโน้ม
ความน่าจะเป็นของผู้เรียน
3. เพื่อใช้เป็นสื่อเผยแพร่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3
1.2. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถคำนวณ คิดวิเคราะห์ข้อมูลหาแนวโน้ม
ความน่าจะเป็นได้ดีขึ้นหลังจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
2. ใช้แบบฝึกเสริมพื้นฐานคณิตศาสตร์ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
3. แบบฝึกเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ได้เผยแพร่ไปยังครูผู้สอนโรงเรียนอื่น
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีระดับความรู้เหมาะสมกับระดับชั้น

2. หลักการและแนวคิดในการพัฒนา
2.1. ศึกษาปัญหา เนื่องจากผู้วิจัยมีประสบการณ์ในด้านการสอน
คณิตศาสตร์เป็นเวลานาน ทำให้ทราบปัญหาการเรียนรู้ในวิชานี้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ว่านักเรียนจะมีปัญหาเกี่ยวกับการคิดคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูล อันเป็นปัญหาในการเรียนรู้ในทักษะอื่นๆและผู้เรียนขาดความมั่นใจในการคิดเองทำเอง อีกทั้งระดับผลการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.2. หาวิธีการแก้ปัญหา ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและตำราต่างๆ ทั้งเอกสาร
หลักสูตร เอกสารงานวิจัย และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาการคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูล ของนักเรียนชั้น ม.3 ภายใต้กรอบของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารต่อไปนี้
1 ) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งทำให้เข้าใจหลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างอัตราเวลาเรียน ตลอดจนคำอธิบายรายวิชา
2 ) คู่มือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทำให้รู้แนวทางการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และเป้าหมายของหลักสูตร
3 ) คู่มือประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521
( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ) ทำให้เข้าใจแนวทางการวัดผลประเมินผล ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร
4 ) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทำให้ทราบความสำคัญ ธรรมชาติ วิสัยทัศน์ มาตรฐานการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ในช่วงชั้นต่างๆ
5 ) เอกสารอบรมครูผู้สอน แนวทางการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และวิธีดำเนินการตามแผน
6 ) เอกสารการสอนชุดวิชา สถิติ วิจัย และการประเมินผลการศึกษาหน่วยที่ 9 – 15 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแบบทดสอบและเก็บค่าสถิติ
7 ) คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของกองแผนงานวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2538 ) เพื่อเป็นแนวทางจัดทำแบบทดสอบและเก็บค่าสถิติ
8 ) เอกสารเสริมความรู้พัฒนาทักษะคิดคำนวณ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ของหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2539 )
3. การดำเนินการ
3.1. กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน….. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา……
3.2. ตัวแปรที่ศึกษา
-- ตัวแปรต้นได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะ สื่อประกอบ
-- ตัวแปรตามได้แก่ คามสามารถในการบวกทำแบบทดสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน โรงเรียน……………
3.3. เครื่องมือที่ใช้
3.3.1 นวัตกรรมที่ใช้ในการฝึก
- แผนการจัดการเรียนรู้
- แบบฝึกเสริมทักษะ
- สื่อประกอบการฝึก
3.3.2 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดคำนวณก่อนและหลังการใช้แบบฝึก
3.4. วิธีสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ
3.4.1 สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน หลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
3.4.2 สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการทำแบบทดสอบพื้นฐาน ใช้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียว
3.5 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.5.1 วิเคราะห์คะแนน ความสามารถในการทำแบบทดสอบพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบน ( S.D ) และค่าร้อยละ
3.5.2 เปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึก

(ดาวน์โหลดฉบับเต็มที่นี่)

การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ทบทวนเรื่องเศษส่วนและทศนิยม

1. ความเป็นมาและสภาพของปัญหา
เนื่องจากโลกยุคปัจจุบันชีวิตของคนเราต้องเกี่ยวข้องตัวเลข การคิดคำนวณ
และค่าทางสถิตอยู่ตลอดเวลา มีการนำตัวเลขมาจัดเป็นสถิติต่างๆ หาแนวโน้มของอุบัติ จำเป็นอย่างยิ่งที่หลักสูตรการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับจำนวนตัวเลข ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น มีทักษะในการคิดคำนวณเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และความอยู่รอดในการครองชีพ โลกในยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่แต่ละประเทศต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายจากกระแสโลก สังคมจะพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ เกิดกระแสและค่านิยมใหม่ๆ ที่หลากหลาย การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เช่นนี้ ประเทศไทยต้องดำรงสถานะที่มีความได้เปรียบและความสามารถในการแข่งขัน โดยปัจจัยสำคัญที่จะสามารถเผชิญการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายดังกล่าวได้ คือ คุณภาพของคน โดยใช้ “การศึกษา” เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพซึ่งหากคนมีคุณภาพแล้วย่อมส่งผลให้สังคมและประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง การศึกษา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ มีศักยภาพเต็มสมบูรณ์ตามอัตภาพของแต่ละบุคคล เมื่อจัดการศึกษามีคุณภาพแล้วการพัฒนาชุมชนสังคม และประเทศก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะมีทรัพยากรบุคคลที่ดี (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2544) ผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญกับวิชาคณิตศาสตร์มาก ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่เคยสอนวิชาคณิตศาสตร์เป็นเวลาของผู้วิจัย ได้เห็นว่าผู้เรียนในทุกระดับช่วงชั้นมีปัญหาในด้านการเรียนวิชานี้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งสถานศึกษาบางแห่งขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนในบางช่วงชั้นไม่ได้รับการฝึกทักษะหรือปูพื้นฐานมาก่อน การจัดกระบวนการเรียนการสอนในวิชานี้ไม่เป็นไปตามขั้นตอนขาดความต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดความล้มเหลวในการจัดกระบวนการเรียนการสอนในวิชานี้
ในปีการศึกษา …… ภาคเรียนที่ …. จากการทดสอบความรู้พื้นฐานเรื่องเศษส่วนและทศนิยม โดยใช้ข้อสอบที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน….. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา…… มีนักเรียนจำนวน … คน มีนักเรียนที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ถึงร้อยละ …. ซึ่งเป็นผลที่ไม่น่าพอใจ
นักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องเศษส่วนและ
ทศนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งผลทีตามมาก็คือนักเรียนที่จบหลักสูตรศึกษามีความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ไม่เหมาะสมกับระดับชั้น ผู้เรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นซึ่งเป็นการล้มเหลวในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพราะวิชาคณิตศาสตร์ถือว่าเป็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของคนเรามาก
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีพยายามมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ เพื่อทบทวนเรื่องเศษส่วนและทศนิยม ให้กับผู้เรียน แก้ปัญหานักเรียนทั้ง … คน เปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เรียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เน้นให้เห็นความสำคัญของวิชานี้ และเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้กับผู้เรียนเพื่อใช้เป็นหนึ่งในยุทศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1.1. วัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ทบทวนเรื่อง
เศษส่วนและทศนิยม เพื่อแก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนทั้ง …. คน และที่ได้คะแนนจากการทดสอบความรู้พื้นฐานไม่ถึงเกณฑ์ซึ่งได้เพียงร้อยละ ….
2. เพื่อพัฒนาความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนและทศนิยม
ของผู้เรียน
3. เพื่อใช้เป็นสื่อเผยแพร่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2

1.2. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนและ
ทศนิยมได้ดีขึ้นหลังจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
2. ใช้แบบฝึกเสริมพื้นฐานคณิตศาสตร์ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
3. แบบฝึกเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ได้เผยแพร่ไปยังครูผู้สอนโรงเรียนอื่น
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีระดับความรู้เหมาะสมกับระดับชั้น

2. หลักการและแนวคิดในการพัฒนา
2.1. ศึกษาปัญหา เนื่องจากผู้วิจัยมีประสบการณ์ในด้านการสอน
คณิตศาสตร์เป็นเวลานาน ทำให้ทราบปัญหาการเรียนรู้ในเรื่องเศษส่วนและทศนิยมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ว่านักเรียนจะมีปัญหาเกี่ยวกับการ บวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนและทศนิยม นักเรียนขาดทักษะในการบวก ลบ คูณ หาร ต้องอาศัยเครื่องคิดเลขช่วย อันเป็นปัญหาในการเรียนรู้ในทักษะอื่นๆและผู้เรียนขาดความมั่นใจในการคิดเองทำเอง อีกทั้งระดับผลการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.2. หาวิธีการแก้ปัญหา ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและตำราต่างๆ ทั้งเอกสาร
หลักสูตร เอกสารงานวิจัย และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาการบวก ลบ คูณหาร เศษส่วนและทศนิยม ของนักเรียนชั้น ม.2 ภายใต้กรอบของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารต่อไปนี้
1 ) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งทำให้เข้าใจหลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างอัตราเวลาเรียน ตลอดจนคำอธิบายรายวิชา
2 ) คู่มือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทำให้รู้แนวทางการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และเป้าหมายของหลักสูตร
3 ) คู่มือประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521
( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ) ทำให้เข้าใจแนวทางการวัดผลประเมินผล ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร
4 ) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทำให้ทราบความสำคัญ ธรรมชาติ วิสัยทัศน์ มาตรฐานการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ในช่วงชั้นต่างๆ
5 ) เอกสารอบรมครูผู้สอน แนวทางการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และวิธีดำเนินการตามแผน
6 ) เอกสารการสอนชุดวิชา สถิติ วิจัย และการประเมินผลการศึกษาหน่วยที่ 9 – 15 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแบบทดสอบและเก็บค่าสถิติ
7 ) คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของกองแผนงานวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2538 ) เพื่อเป็นแนวทางจัดทำแบบทดสอบและเก็บค่าสถิติ
8 ) เอกสารเสริมความรู้พัฒนาทักษะภาษา กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ของหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2539 )


3. การดำเนินการ
3.1. กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน….. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา………
3.2. ตัวแปรที่ศึกษา
-- ตัวแปรต้นได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะ สื่อประกอบ
-- ตัวแปรตามได้แก่ คามสามารถในการบวกทำแบบทดสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 คน โรงเรียน………………
3.3. เครื่องมือที่ใช้
3.3.1 นวัตกรรมที่ใช้ในการฝึก
- แผนการจัดการเรียนรู้
- แบบฝึกเสริมทักษะ
- สื่อประกอบการฝึก
3.3.2 แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้เรื่องเศษส่วนและทศนิยมก่อนและหลังการใช้แบบฝึก
3.4. วิธีสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ
3.4.1 สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน หลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
3.4.2 สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการทำแบบทดสอบพื้นฐาน ใช้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียว
3.5 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.5.1 วิเคราะห์คะแนน ความสามารถในการทำแบบทดสอบพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบน ( S.D ) และค่าร้อยละ
3.5.2 เปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึก

(ดาวน์โหลดฉบับเต็มที่นี่)